การพัฒนาของธุรกิจแต่ละยุคสมัยมีการพัฒนาของแบรนด์และองค์กรที่แตกต่างกันไป โดยโมเดลธุรกิจทุกวันนี้ไม่ใช่แค่มีเพียงการสร้าง พันธกิจ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เท่านั้นไม่เพียงพออีกแล้ว การขับเคลื่อนธุรกิจทำให้องค์กรมีการพัฒนาสู่ความยั่งยืนจะต้องมีจุดมุ่งหมาย “Purpose Driven” นับเป็นโมเดลธุรกิจแห่งอนาคต ที่มีบทบาทในการส่ง “คุณค่า” ธุรกิจสู่ “สังคม” เพื่อการสร้างจุดมุ่งหมายร่วมกัน ซึ่งในอนาคต ทุกองค์กรต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการนำ “Purpose Driven” มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการกำหนดทิศทางขององค์กร เพื่อการสร้างวัฒนธรรมให้พนักงานตลอดจนลูกค้าและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีจุดเชื่อมโยงไปในแนวทางเดียวกันกับองค์กรได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนองค์กรสู่ความยั่งยืนไปด้วยกัน โดย CEO นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCM กล่าวไว้ว่า “ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมา ซัคเซสมอร์ ขับเคลื่อนธุรกิจผ่าน “Purpose Driven” ในการสร้างผลกระทบเชิงบวกในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”
“Purpose Driven” การขับเคลื่อนองค์กรแห่งอนาคต
Purpose Driven การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยจุดมุ่งหมาย ไม่ใช่ด้วย “ยอดขาย” และ “ผลกำไร” CEO นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCM กล่าวว่า “Purpose Driven เป็นการขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมาย องค์กรก็เหมือนคนถ้าเราไม่เข้าใจคนที่ใช้ชีวิตอยู่ เขาก็จะคิดว่าเขาทำงานเพื่อการหาเงินอย่างเดียว และจะรับรู้ถึงความรู้สึกเหนื่อยล้า และก็จะรับรู้ความหมายของตัวเองไม่ได้ เนื่องจากคนมีความเข้าใจเพียงเท่านี้ ไม่เข้าใจในเรื่องของจุดมุ่งหมาย เวลาเขาไปเป็นเจ้าของบริษัทเขาจะคิดแต่เรื่องการหาเงินเพื่อการทำยอด ทำกำไร มันจะไม่มีความหมาย และความรู้สึกของความเป็นอยู่ของตัวองค์กร ในยุคหลัง ๆ กับประเทศที่มีความเจริญแล้ว บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เกิดใหม่ จะมีการขับเคลื่อนธุรกิจเริ่มต้นด้วย Purpose Driven คือการใช้พลังงานสูงสุดในเรื่องของจุดมุ่งหมาย เรื่องวิสัยทัศน์ เรื่องพันธกิจ และเรื่องการขับเคลื่อนกลยุทธ์ เรื่องเป้าหมายการทำธุรกิจ”
สำหรับการขับเคลื่อนด้วย “จุดมุ่งหมาย” มีจุดเด่นคือเป็นการตอบตัวเองได้ว่าทำไมต้องมีคุณอยู่ในโลกใบนี้ ทำไมต้องมีบริษัทของคุณอยู่ในโลกใบนี้ โลกใบนี้คงไม่อนุญาตให้คุณมาเพื่อทำกำไร แต่มันมีความหมายบางอย่างต่อชีวิตผู้คนต่อลูกค้าที่คุณเลือก สิ่งนี้ คือ ความหมายของคำว่า Purpose Driven เมื่อเรามีเรื่อง Purpose แล้ว คำว่า ยิ่งให้ยิ่งได้รับกลับก็จะมีการขับเคลื่อน เราจะรู้เลยว่าการที่มีองค์กรของเราอยู่ เพื่อขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์หลักที่จะทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น ซึ่งเป็นการเริ่มคิดจากคนภายนอก จากจุดหมายปลายทางก่อนแล้วค่อยมาขับเคลื่อนบริษัท ไม่ใช่เริ่มต้นจากการวางตัวเลขก่อน แล้วขับเคลื่อนตัวเลขให้เป็นจริง อันนี้คือ Purpose Driven”
การบริหารองค์กรด้วยจุดมุ่งหมายสู่ความสำเร็จ
CEO นพกฤษฏิ์ กล่าวต่อว่า “เมื่อเรามีการขับเคลื่อนองค์กรด้วยจุดมุ่งหมาย ก็จะเป็นการจัดระเบียบขององค์กร แต่การที่องค์กรไม่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ บางทีองค์กรนั้นก็อาจจะไปทำร้ายคนอื่นที่มีส่วนได้สียกับธุรกิจของเราได้ แต่ถ้าเรามีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน สิ่งนั้นก็จะกำหนดแนวทางและขอบเขตของการเลือกทำสิ่งที่ตอบโจทย์การทำงานขเองเรา กลายเป็นพลังในการส่งเสริมการทำงานที่สูงขึ้น ที่สำคัญก็คือเมื่อเรามีพลังงานระดับ Purpose เข้าไปเกี่ยวข้องกับคนขององค์กร พนักงานในองค์กรก็จะถูกปลูกฝังในเรื่องนี้ด้วย จนกลายเป็นความรักความผูกพัน ความภูมิใจความรู้สึกที่ดีต่อองค์กร เมื่อเรื่องเล่านี้ถูกส่งต่อออกไปก็จะกลายเป็นการสร้างแบรนด์ให้กับองค์กรไปในตัว ซึ่งทุกอย่างที่กล่าวมามีจุดกำเนิดมาจากคำว่า Purpose Driven”
“จากกรณีตัวอย่าง อาทิเช่น บริษัท Apple, Google, Starbucks หรือแม้แต่ Tesla ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งบริษัท ทุกบริษัทจะมีเรื่องของ Purpose Driven อย่างเช่น Apple เขาต้องการให้ชีวิตผู้คนมีประสิทธิภาพง่าย ๆ ภายใต้สมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว สามารถยกระดับให้คนมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการติดต่อสื่อสาร ซึ่งการที่จะขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมาย บริษัทจะคิดถึงลูกค้าปลายทาง คือถึงผู้มีส่วนได้เสีย คิดถึงสังคม และจะเน้นพัฒนาคุณค่าส่งมอบคุณค่าให้กับกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน และกลายเป็นทั้งองค์กรที่เก่งและองค์กรที่ดีมาอยู่ด้วยกัน สามารถสร้างระบบนิเวศวิทยา Ecosystem จากการเป็นคนเก่งและคนดี ทำให้คนที่มีระดับ Purpose เหมือนกัน จะมาช่วยส่งเสริมองค์กรให้มีความเติบโตอย่างยั่งยืน”
5 ความท้าทายในการสร้างองค์กรยุคใหม่
CEO นพกฤษฏิ์ เปิดเผยต่อว่า “สำหรับ SCM ได้ทำเรื่อง Purpose Driven อย่างต่อเนื่องและมีการยกมาตรฐานให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่การจะดำเนินการเรื่องนี้ให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่ว่าจะใช้เวลาเพียง 1-2 ปี ก็จะประสบความสำเร็จ เพราะเรื่องนี้ผมพูดมา 10 กว่าปีแล้ว และผมก็ได้นำเรื่องนี้มาถ่ายทอดให้กับองค์กรซัคเซสมอร์ฯ เป็นเวลา 10 กว่าปีแล้วเช่นกัน แต่ในประเทศไทยเพิ่งมาเริ่มพูดกันในปีนี้เอง จากนี้ไปเราจะได้ยินศัพท์คำนี้ถี่ขึ้น ซัคเซสมอร์ฯ ก็จะต่อยอดในเรื่องนี้เพื่อจะก้าวไปอีกขั้นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง โดยที่จุดมุ่งหมายของเราคือการเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนไปในทางที่ดีขึ้น โดยวัดจากการมีสุขภาพดีขึ้น การมีพลังงานความคิดที่สูงขึ้น การมีมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น และการมีความสุขที่มากขึ้น สิ่งเหล่านี้คือการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนในทางที่ดีขึ้น โดยที่ Purpose ของเราก็คือ เราอยู่เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คน ให้มีความเป็นรูปธรรมก็คือ ถ้าใครเจอผมในบริษัทนี้เขาจะต้องรู้สึกว่าผมจะสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับเขาได้ เขาจะมีพลังงานที่สูงขึ้น และเขามีความตื่นตัวว่าชีวิตของเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ จนสามารถส่งต่อพลังงานนี้ไปยังแบรนด์ซัคเซสมอร์ฯ พอเขารับรู้ว่าแบรนด์นี้สามารถรับผลกระทบเชิงบวกต่อความเปลี่ยนแปลงของเขา และสามารถทำให้เขามีพลังที่สูงขึ้นได้นี่คือสิ่งที่เราพยายามจะทำและยกระดับขึ้น”
ในขณะที่ความท้าทายของการบริหารองค์กรยุคใหม่กับ 5 ความท้าทายในปัจจุบัน ประกอบไปด้วย
1.การเปลี่ยนจากยุค Offline มาสู่ยุค Digital แบบเข้มข้น หลังจากสถานการณ์โควิด – 19 มีการเปลี่ยนไปอย่างชัดเจนมาก ดังนั้นการพัฒนาระบบ การทำความเข้าใจกับคนที่ใช้ระบบจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้น้ำหนักสูงมากและต้องเปลี่ยนให้ทันกับสถานการณ์
2.ทางเลือกในการหารายได้เพิ่มของคนมีมากขึ้น ถ้าเป็นสมัยก่อน คนนึกอะไรไม่ค่อยออกก็จะนึกถึงธุรกิจการขายประกัน การทำธุรกิจเครือข่าย การขายบัตรเครดิต แต่ทุกวันนี้คนมีทางเลือกเพิ่มขึ้นมาก เช่น การขายออนไลน์ การเป็นพนักงานส่งของ ซึ่งมีเป็นทางเลือกที่หลากหลาย จึงสามารถดึงคนออกไปจากอุตสาหกรรมเครือข่ายเป็นจำนวนมาก
3.คน Gen ใหม่ ๆ เชื่อตัวเองมากกว่าเชื่อแบรนด์ ทำให้ยากขึ้นต่อการนำคนกลุ่มนี้เข้ามาสู่ธุรกิจเครือข่าย โดยเฉพาะกลุ่ม Gen Z ในยุคปัจจุบัน
4.การเปลี่ยนแปลงที่มีรอบหมุนเร็วขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นหลักการอยู่รอดเราต้องทำในระบบภายในองค์กร เปลี่ยนแปลงเร็วกว่าภายนอก ถ้าเปลี่ยนช้ากว่าเราก็เสร็จ เปลี่ยนพร้อมกันก็เสร็จเหมือนกัน และ
5.ทุนจีน ตรงนี้ก็หนัก กลายเป็นว่าสินค้าแบบเดียวกันถ้า Brand Positioning ไม่ชัดเจน คนก็จะดูที่ราคาแล้วก็ซื้อ ดังนั้น Brand Positioning ทุกวันนี้ต้องชัดเจน
การขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกัน
CEO นพกฤษฏิ์ กล่าวเสริมว่า การเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน นอกจากเริ่มต้นด้วย Purpose ที่ชัดเจนมีพลังแล้ว จะต้องสอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ ที่ลงตัวด้วย ถึงจะเป็นองค์ประกอบที่ยั่งยืน ซึ่งลูกค้าจะเป็นคนให้คะแนนความสำเร็จ นั่นหมายถึงว่า แบรนด์สามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าจำนวนมากพอ และยังคงสนับสนุนแบรนด์อย่างต่อเนื่อง จนถึงขั้นช่วยบอกต่อและปกป้องแบรนด์
เวลาที่เรานิยามความสำเร็จขององค์กร ก็เหมือนกับการทำงานอื่น ๆ ของคนแต่ละคน เช่น ถ้าผมทำงานเป็นวิทยากร ความสำเร็จไม่ได้วัดจากผมพูดดีแค่ไหน แต่ความสำเร็จวัดจากคนฟังว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไร เขาได้ประโยชน์อะไรและเอาไปใช้ประโยชน์กับตัวเขาได้บ้าง เช่นเดียวกัน ในความเป็นองค์กร คนที่สนับสนุนองค์กรก็คือลูกค้า ความยั่งยืนก็วัดจาก การมีประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า เขามีความสุขกับเรา เขาสนับสนุนเรา และเขาใช้บริการเราอย่างต่อเนื่อง จนเขากลายเป็นแฟนตัวย
นอกจากการสนับสนุนซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่องแล้วยังมีการบอกต่อแนะนำคนอื่นอีกด้วย พร้อมทั้งช่วยในเรื่องของการปกป้องแบรนด์ของเราอีกด้วย ซึ่งองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วย Purpose จะมุ่งสร้างผลกระทบทางบวกให้กับสังคม ซึ่งจะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือปลูกฝังแนวคิดใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการดูแลชีวิตผู้คนให้ดีขึ้นนั่นเอง”