ถอดรหัส ความสำเร็จ “SCM” บริษัท “เครือข่าย” ตัวจริงที่ “แตกต่าง”

SCM หนึ่งเดียวในธุรกิจ “เครือข่าย” สัญชาติไทย ก้าวสู่แบรนด์ “มหาชน” นับเป็นธุรกิจเครือข่ายไทยเจ้าแรกที่เดินหน้าเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( SET )  เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ โดยจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสินค้าอุปโภคและบริโภค ทั้งภายในประเทศและขยายฐานธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ บริษัทตั้งมั่นในการสร้างแรงบันดาลใจ หล่อหลอมจิตวิญญาณ ภายใต้ปรัชญา Inspiration for your Being แรงบันดาลใจเปลี่ยนชีวิตคุณ” พร้อมยกระดับการเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ของชีวิตผู้คนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมส่งต่อคุณค่า สู่สังคมอย่างยั่งยืน ตอกย้ำการเป็นบริษัท “เครือข่ายมหาชน” ชั้นนำตัวจริงที่ “แตกต่าง” ของคนไทย อย่างภาคภูมิใจ!!

เส้นแบ่งธุรกิจ “เครือข่าย” ที่ดีแตกต่างอย่างไร!?

ธุรกิจเครือข่าย ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้บริโภค  มีกว่า 11 ล้านคน ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้  เพราะมีอิสระในการทำงาน สามารถซื้อสินค้าไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ในราคาที่คุ้มค่าเงิน  เป็นการสร้างรายได้เสริม กระเป๋าที่ 2  และการสร้างธุรกิจให้เป็นอาชีพหลักที่สามารถสร้างรายได้ได้อย่างยั่งยืน ในวันนี้ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษกับ ผู้บริหารระดับสูงของอุตสาหกรรมเครือข่าย CEO นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCM เปิดเผยถึงมุมมองเชิงบวกในธุรกิจเครือข่ายว่า ในมุมมองของผมที่อยู่ในธุรกิจเครือข่ายมายาวนาน ประสบความสำเร็จทั้งการทำธุรกิจและการก้าวขึ้นมาสู่การเป็นเจ้าของและผู้บริหาร ผมมีหลักเกณฑ์ง่าย ๆ ที่ใช้ในการแบ่งแยกธุรกิจเครือข่ายที่ถูกต้อง กับธุรกิจเครือข่ายที่ไม่ถูกต้อง โดยมี 5 หลักเกณฑ์ ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. กระดุมเม็ดแรก : ถ้าเราติดกระดุมเม็ดแรกผิดก็จะผิดไปทั้งหมด ในการประกอบธุรกิจเครือข่ายก็เช่นกัน ที่การจะดำเนินธุรกิจให้ถูกต้องจะต้องมีใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจ จาก สคบ. นอกจากนี้ในการขับเคลื่อนธุรกิจก็จะต้องดำเนินกิจการภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนั้นด้วย

2.จำหน่ายสินค้าในราคาที่เหมาะสม : บริษัทจะต้องเน้นสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม รวมถึงค่าสมัครสมาชิกและในการเริ่มต้นธุรกิจที่มีความเหมาะสม และควรโฟกัสที่การบริโภคสินค้าจริง ไม่ใช่การชักชวนให้มาลงทุนซื้อสินค้า

3.บริษัทต้องควบคุมดูแลกฎจรรยาบรรณ : บริษัทต้องมีแนวทางดำเนินการในเรื่องของการกำกับดูแลกฎจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในเรื่องของการแย่งสายงานและการขายสินค้าตัดราคา

4.การมีระบบพัฒนาคนที่ถูกต้อง : บริษัทต้องมีระบบการพัฒนาคนที่ถูกต้อง เพื่อสอนนักธุรกิจให้เป็นคนเก่งและคนดี ไม่ใช่สอนให้นักธุรกิจไปหลอกลวงชาวบ้าน

5.เน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า : ถ้าบริษัทมีการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า การรับฟังปัญหาของผู้บริโภค จะสามารถทำให้บริษัทจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และสามารถจะชนะใจผู้บริโภคได้อีกด้วย

ธุรกิจเครือข่ายที่ดีต้องยึดมั่นหลักจรรยาบรรณ

เมื่อมีแชร์ลูกโซ่ ธุรกิจเครือข่ายยังคงตกเป็นจำเลยสังคมอยู่เสมอ CEO นพกฤษฏิ์ กล่าวต่อว่า นับเป็นความโชคร้ายของบริษัทเครือข่ายที่ยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจอย่างถูกต้องที่ถูกเหมารวมไปด้วย จริง ๆ แล้ว คำว่าเครือข่ายคือช่องทางของการจัดจำหน่ายขององค์กรหรือของแบรนด์ ซึ่งในโลกนี้มีกลยุทธ์การตลาดแบบ 4P คือ Product, Price, Place, Promotion ในขณะที่ความเป็นองค์กร จะมีในเรื่องของแบรนด์ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ พันธกิจ การบริหารจัดการองค์กร บริหารพนักงาน และการบริหารผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในองค์กร ในขณะที่บริษัทเครือข่ายให้บริการลูกค้าด้วยช่องทางจัดจำหน่ายขยายสมาชิก ดังนั้นคำว่าเครือข่าย คือ ช่องทางจัดจำหน่าย เมื่อมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น บริษัทจะต้องปรับปรุงช่องทางจัดจำหน่าย เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีของผู้บริโภค บริษัทจึงต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้บริโภค เพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับปรุงช่องทางการให้บริการให้ดีขึ้นกว่าเดิม และหากมีใครที่กระทำความผิดหลักจรรณยาบรรณธุรกิจ โมเดลบริษัทเครือข่ายของจริงจะต้องมีการลงโทษด้วยการตักเตือนหรือเพิกถอนสิทธิการทำตลาด

แก่นแท้ของธุรกิจเครือข่ายในประเทศที่เจริญแล้ว

ปรัชญาธุรกิจของเครือข่าย คือปรัชญาของคนที่ซัพพอร์ตกันในการสร้างความสำเร็จร่วมกัน CEO นพกฤษฏิ์ เผยว่า การทำธุรกิจเครือข่ายในประเทศที่เจริญแล้ว อาทิ อเมริกา เยอรมัน ประการแรกเพราะประเทศเขาเข้าใจในปรัชญาของการทำธุรกิจเครือข่าย  ซึ่งปรัชญาสูงสุดของความเป็นมนุษย์  ในการสร้างความสำเร็จร่วมกัน ปรัชญานั้นบอกไว้ว่า ถ้าคุณช่วยผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จมากพอ คุณก็จะประสบความสำเร็จ บริษัทเครือข่ายก็ปรับจากปรัชญานี้มาใช้ จึงเป็นที่มาของการใช้คำว่า สปอนเซอร์ (Sponsor) ซึ่งเป็นคำติดปากของคนในวงการเครือข่าย  การเป็นผู้สปอนเซอร์ คือ ผู้สนับสนุน เมื่อคุณไปคุยให้เขาเป็นทีมงานของคุณ ก็ถือว่าคุณเป็นผู้สนับสนุนให้เขาประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้น ประเทศที่เขาเข้าใจเขาจะให้ราคาแก่นแท้ของปรัชญาในธุรกิจเครือข่าย

 

ประการที่สอง คือ การทำธุรกิจเครือข่ายเป็นโอกาสที่ทำให้คนตัวเล็กตัวน้อยสามารถเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการได้  เรียกว่าเป็นผู้ประกอบการที่ Outsource บทบาทการทำตลาดออกไป โดยไม่ต้องข้องเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการขั้นตอนที่ยุ่งยากในการทำธุรกิจ

 

ประการที่สาม คือ การทำให้คนได้รับการพัฒนาและสร้างชุมชนกลุ่มคนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะธุรกิจเครือข่ายที่ดี จะมีหลักสูตรการพัฒนาที่ดีมาก ทั้ง Mindset Leadership How to ในเรื่องการจัดการทีมงาน พรีเซนเทชั่น  เรื่องภาวะความเป็นผู้นำ การใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีเพื่อการทำการค้า ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ใช้ต้นทุนในการเรียนรู้ต่ำที่สุดในระบบ ทำให้คนจำนวนมากถูกพัฒนา และไปส่งต่อจนกลายเป็นกลุ่มคนที่แข็งแรง เป็นการสร้างชุมชนขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพ

 

ซึ่ง SCM ได้ใช้ปรัชญาธุรกิจของเครือข่าย ในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น และเป็นเพียงบริษัทเครือข่ายหนึ่งเดียวที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

1.ถูกต้องตามกฎหมาย ใบอนุญาตการทำธุรกิจทุกอย่างถูกต้อง

2.บริษัทมีฐานสมาชิกที่แข็งแรง และมีการซื้อขายมาอย่างต่อเนื่อง

3.บริษัทมีระบบพัฒนาคนและการพัฒนาสินค้าที่มีมาตรฐาน

4.บริษัทมีระบบงานภายใน บัญชีมีความโปร่งใส และการเงินจะมีความมั่นคง

5.ผู้บริหารมีคุณสมบัติที่เข้าตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ถอดบทเรียนธุรกิจเครือข่ายที่อยู่ในกระแสกระทบธุรกิจเครือข่าย

CEO นพกฤษฏิ์ เปิดเผยถึง จากกรณีที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในตอนนี้ ทำให้ธุรกิจเครือข่ายในประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้บริหารบริษัทเครือข่าย ได้ถอดบทเรียนจากเรื่องที่เกิดขึ้น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้

1.การบริหารองค์กรที่ดี จะต้องยึดหลักในการบริหาร 4 Win เพราะหลักในการบริหารบริษัทจะต้อง Win เพื่อให้บริษัทมีเงินในการหมุนเวียนต่อยอดเพื่อสร้างการเติบโตในองค์กรและดูแลพนักงาน แต่บริษัทจะวินเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะถ้าวินเพียงฝ่ายเดียวจะทำให้ทั้งระบบพังเร็ว ด้านลูกค้าก็จะต้องวินด้วย ในที่นี้ลูกค้าของ SCM ก็จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ลูกค้าที่เป็นคนกลางของบริษัท กลุ่มนี้จะต้องมีรายได้แบบเหมาะสม สินค้าต้องสมราคาคุ้มค่าเงิน เพื่อให้ผู้บริโภคปลายทางวินด้วย และ 2. กลุ่มลูกค้าที่เป็นลูกค้าปลายทาง 3.คู่ค้าตลอดซับพลายเชน ต้องมีการบริหารจัดการให้มีความสมดุล ไม่เช่นนั้นซับพลายเชนก็พังลง และ 4. สังคมจะต้องวินด้วย บริษัทจะต้องดูแลสังคมไปด้วยกัน โดยจะไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้คน เป็นองค์กรที่มีการช่วยเหลือสังคมหลายหลายมุม

2.ค่านิยมทำแต่สิ่งที่ถูกต้องคือหัวใจ เพราะว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดมาจากค่านิยมของผู้ประกอบการที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับองค์กรมากที่สุด แต่ไม่ใส่ใจในความสูญเสียของลูกค้า ดังนั้นเราจะต้องมีค่านิยมที่ถูกต้องเพราะทุกสิ่งที่เราคิดออกมาจะได้เป็นสิ่งที่จะสร้าง 4 วิน ไปด้วยกัน

3.ต้องเน้นย้ำในเรื่องการสอนและเน้นให้คนปฏิบัติตามกฎจรรยาบรรณ เราเป็นองค์กรที่มีนโยบายให้คนทำในสิ่งที่ถูกต้อง แต่เนื่องจากธุรกิจเป็นการทำงานกับคนจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงต้องทำสม่ำเสมอทั้งการสอนและการกำกับดูแล พร้อมทั้งรับฟีดแบคจากหน่วยงานภาครัฐอยู่เสมอ ว่ามีเคสอะไรที่เกี่ยวข้องกับเราหรือไม่ในการกระทำความผิด เพื่อให้แก้ไขสถานการณ์ได้ทันท่วงที

4.การสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอคือสิ่งที่ต้องทำ จากข่าวที่เกิดขึ้นถ้าเราเป็นคนมีค่านิยมดี เราแค่รู้ว่ามีเคสแบบนี้ที่เค้าเจ็บปวดเราจะรีบแก้ไขตั้งแต่สองสามปีที่แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะต้องสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นหลัก

5.อย่าสร้างวัฒนธรรม อวดวัตถุ อวดรวย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราควบคุมมาตลอด นโยบายของเราเน้นในเรื่องของการเรียนรู้พัฒนาตน  การเพิ่มคุณค่า และไปช่วยให้ผู้คนเปลี่ยนแปลงชีวิต เพราะฉะนั้นต่อไปนี้องค์กรที่อยู่ในเครือข่ายจะต้องเน้นในเรื่องคุณค่า เพราะเมื่อไหร่ที่คนนอกมองเราเข้ามาเห็นแต่ในเรื่องของการหาเงินหาเงิน ทำให้ภาพลักษณ์ในธุรกิจขายตรงนั้นดูไม่ดี

ผดุงไว้ซึ่งหลักจรรยาบรรณในอุตสาหกรรมเครือข่าย

CEO นพกฤษฏิ์ กล่าวว่า การผนึกกำลังของภาครัฐและภาคเอกชนในการสร้างอุตสาหกรรมเครือข่ายให้มีความมั่นคง มีความเจริญเติบโต นับเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง โดยยึดหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ อาจจะแบ่งเป็น 5 ข้อ ดังต่อไปนี้

1.หน่วยงานราชการต้องมีระบบขึ้น Black List คนที่เคยเปิดแล้วปิดการดำเนินธุรกิจแบบเอาเปรียบผู้บริโภค จะต้องไม่ให้บริษัทเหล่านี้กลับมาเปิดธุรกิจใหม่ได้อีก เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายที่ซ้ำซากได้

2.ก่อนออกใบอนุญาตต้องมีการนำเสนอแผนการตลาด และตอบคำถามจากคณะกรรมการหน่วยงานภาครัฐ เช็กในเรื่องของเงินทุนในการดำเนินธุรกิจ จะปล่อยให้บริษัทที่ไม่มีมาตรฐานเข้ามากอบโกยรายได้จากลูกค้าอย่างเดียวไม่ได้

3.หน่วยงานรัฐกับสมาคมขายตรงต้องทำงานใกล้ชิด นั่นหมายถึงว่าถ้าใครทำเรื่องที่ไม่ถูกต้อง สมาคมต้องเป็นสถาบันที่แข็งแรงที่สุดในอุตสาหกรรม จะต้องลุกขึ้นมาแสดงพลัง เชื่อมโยงกับหน่วยงานรัฐเพื่อให้จัดการปัญหาตั้งแต่ต้น เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง

4.การจัดการของหน่วยงานรัฐต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อที่จะช่วยพิทักษ์อุตสาหกรรมนี้ให้มีความยั่งยืนได้

5.ทุกบริษัทกำกับดูแลองค์กรอย่างถูกต้อง เพื่อยกระดับวุฒิภาวะของคนในอุตสาหกรรม เพราะอุตสาหกรรมนี้เป็นที่รวมของคนหลากหลาย ต้องยกระดับจากการพูดลบต่อกันเป็นการนำเสนอคุณค่าขององค์กร ถ้าเราสามารถยกระดับความสามารถของคนในธุรกิจขึ้นได้ จะทำให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ทั้งนี้  ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้บริหารระดับสูงของอุตสาหกรรมเครือข่าย CEO นพกฤษฏิ์ กล่าวสรุปว่า “การจะให้ความเชื่อมั่นต่อคนที่เข้ามาในวงการเครือข่ายได้ 1. การรับรู้และความเข้าใจต่อโมเดลธุรกิจเครือข่าย เพราะทุกวันนี้มีทั้งบริษัทที่ใช่และไม่ใช่เครือข่าย เราต้องแยกให้ออกก่อนว่าบริษัทไหนเป็นบริษัทเครือข่าย บริษัทไหนที่มีลักษณะเป็นมันนี่เกม เมื่อเรารู้ว่าบริษัทที่ใช่ มีคุณสมบัติอะไรบ้าง เราก็เข้ามาศึกษาเพราะมันเป็นโอกาส เป็นการเพิ่มรายได้ทางที่สอง เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้พัฒนาตน 2.บริษัทที่ใช่ ต้องมีนโยบายถูกต้องกลยุทธ์ถูกต้อง เหมือนทุกองค์กรที่มีคนจำนวนมาก อาจมีบางคนทำผิดพลาดได้ แต่ถ้าองค์กรที่ใช่ก็จะบริหารจัดการ ให้คนไม่ดีออกไปจากระบบหรือมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเขาไปในทางที่ถูกต้อง จึงอยากให้ทุกคนมีความสมดุลในทางความคิด มองจากความเป็นจริง อุตสาหกรรมนี้อยู่ในโลกนี้มายาวนานก็ต้องมีแก่นแท้ของธุรกิจ การเลือกบริษัทที่มีแก่นแท้ ก็จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ส่งเสริมทำให้ชีวิตเรามีคุณค่า และมีความสำเร็จที่มากกว่าเดิมได้”

 

Loading