จากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา กินเวลานานยาวหลายปี อุตสาหกรรมขายตรงไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง นับว่าผู้ประกอบการขายตรงไทยมีการปรับตัวได้ดีกับปัญหาทุก ๆ ด้าน แม้จะต้องเผชิญกับปัญหามาหลายระลอก ทั้งด้านเศรษฐกิจ โรคระบาด ดิจิทัลดิสรัปชัน แต่เหมือนมีการสั่งสมภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้หลายบริษัทผ่านมาได้ทุกวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ยังคงมีอีกหลายบริษัทที่ต้องดิ้นรนเพื่อประคับประคองตัวให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้
จากข้อมูลจาก สมาคมการขายตรงไทย หรือ TDSA ธุรกิจขายตรงไทยที่มีมูลค่าตลาดรวม 63,800 ล้านบาท ซึ่งประเทศไทยสามารถรั้งอันดับที่ 14 ของโลก และยังมีนักธุรกิจอิสระประมาณ 11 ล้านคน จากรายงานของสมาคมการขายตรงไทย โดยขายตรงทั่วโลกในปี พ.ศ. 2564 มียอดธุรกิจค้าปลีกอยู่ที่ 186.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตขึ้น 1.5% และมีนักธุรกิจอิสระทั่วโลกจำนวน 128.2 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 0.7% และสถานการณ์วิกฤติและปัจจัยลบทางเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรม เห็นได้จากกระแสความสนใจของผู้บริโภคที่หันมาสนใจเรื่องการดูแลสุขภาพและความงาม ทำให้สัดส่วนยอดขายของธุรกิจขายตรงไทยที่มาจากหมวดผลิตภัณฑ์ Wellness และ Beauty สูงถึง 78%
เมื่อไปดูข้อมูลจากรายงานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (DBD DataWarehouse+) ข้อมูลงบกำไรขาดทุน 2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 12/06/2566 ) ธุรกิจขายตรง อันดับต้น ๆ ของประเทศยังมีการเติบโตแบบทรงตัว ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา หลายบริษัทมีการปรับตัวการทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น หรือบางบริษัทมีการปรับตัวเข้าสู่ระบบออนไลน์ตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิด-19 ระบาดขึ้น ทำให้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยอันดับหนึ่งของธุรกิจขายตรงในประเทศไทยยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งประกอบไปด้วย
ขายตรงยักษ์ใหญ่จากประเทศสหรัฐอเมริกา อันดับ 1 ตลอดกาล บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด หลังจากที่ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติโควิด-19 ด้วยความที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีฐานผู้บริโภคจำนวนมาก และการปรับตัวในการใช้กลยุทธ์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันที่มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่องรับสถานการณ์โควิด จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 มีรายได้ 18,711,700,616 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 17,810,815,765 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -4.79 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 512,663,952 บาท โดยในปี 2566 บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงทัพผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งมีการแต่งตั้ง ทศพร นิษฐานนท์ นั่งตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด แทน กิจธวัช ฤทธีราวี ซึ่งก้าวไปรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษา ต้องรอชมว่าฝีมือผู้บริหารคนใหม่จะพาแอมเวย์เติบโตก้าวไปถึงยอดขาย 30,000 ล้าน ได้หรือไม่
แชมป์อันดับ 2 มาอย่างยาวนานได้เช่นกัน แบรนด์คนไทยอับดับที่ 45 ของโลก ยังคงเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคคนไทยและทั่วโลกให้การยอมรับสำหรับ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ภายใต้การบริหารงานของผู้หญิงแกร่ง พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ พร้อมก้าวสู่ปีที่ 28 อย่างมั่นคง ในระยะเวลากว่า 27 ปี สามารถสร้างยอดขายรวมแล้วกว่า 102,173 ล้านบาท โดยสร้างยอดขายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยการตลาดที่มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม และมีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง ทำให้กิฟฟารีนไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด สามารถสร้างรายได้ที่มีความมั่นคง จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 มีรายได้ 4,751,323,066 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 4,249,194,629 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อย -10.56 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 242,080,957 บาท
มาดูที่ค่ายยักษ์ใหญ่ประเทศมาเลเซียกันบ้าง สำหรับ บริษัท ซูเลียน (ประเทศไทย) จำกัด ยังคงเดินหน้าทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ไม่สามารถจัดงานสัมมนาได้ในหลายปี ในปีนี้ซูเลียนเดินหน้าเต็มกำลัง เป็นเวลากว่า 3 ปีที่ไม่ได้จัดงานใด ๆ เลยในการเชิดชูเกียรตินักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยเมื่อวันที่ 10-06-2566 ได้จัดงานวันเกียรติยศซูเลียน ZHULIAN DAY OFG HONOUR 2023 โดยตลอดระยะเวลา 26 ปี ที่ดำเนินธุรกิจซูเลียนในประเทศไทย มีการส่งต่อธุรกิจแบบรุ่นสู่รุ่นพร้อมส่งต่อธุรกิจไปสู่รุ่นลูก ๆ ที่เข้ามาสานต่อธุรกิจซูเลียนให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป พร้อมยืนหยัดอดทนและฟันฝ่าทุกวิกฤติ จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 ซูเลียนประเทศไทยมีรายได้ 2,262,365,529 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 1,988,089,294 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -12.12 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 205,993,739 บาท
มาดูอันดับที่ 4 บริษัทขายตรงสัญชาติไทยที่สามารถยึดครอง TOP 5 ขายตรงไทย ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ก่อตั้ง บริษัท เลกาซี่ คอร์ป จำกัด ด้วยทัพผู้นำนักธุรกิจที่เป็นคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การขยายธุรกิจค่อนข้างมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในแวดวงธุรกิจมาอย่างยาวนาน ทำให้ธุรกิจสามารถติดลมบนมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 เลกาซี่มีรายได้ 1,969,678,693 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 1,395,469,706 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -29.15 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 6,989,806 บาท
ขณะที่อันดับ 5 ยังคงเป็นอีกหนึ่งบริษัทขายตรงสัญชาติไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน สามารถรั้งอันดับ TOP 5 ขายตรงไทย และยังสามารถนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทมหาชนได้อีกด้วย นับเป็นรายแรกของธุรกิจขายตรงไทย บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การบริหารงานของ นายแพทย์สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ ประธานกรรมการบริหาร และ CEO นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 ซัคเซสมอร์มีรายได้ ในปี 2564 มีรายได้ 1,269,886,455 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 1,182,406,038 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -6.88 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 183,964,082 บาท
นอกจากนี้ธุรกิจขายตรงไทยตั้งแต่อันดับ 6 เป็นต้นไปจะมีใครบ้างไปดูกัน บริษัท เฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 334,888,905 บาท และในปี 2565 มีรายได้เพิ่มขึ้น 985,285,916 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 195.50 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 40,157,863 บาท, บริษัท จอย แอนด์ คอยน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 1,067,694,468 บาท และในปี 2565 มีรายได้ลดลง 791,944,318 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -25.82 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 8,878,366 บาท , บริษัท ยูนิซิตี้ มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 787,971,322 บาท และในปี 2565 มีรายได้ลดลงเล็กน้อย 723,967,666 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -8.12 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 2,236,780 บาท, บริษัท นู สกิน เอ็นเตอร์ไพร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ปี 2554 มีรายได้ 661,925,507 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 679,703,530 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 2.95 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 10,507,456 บาท, บริษัท แฮ็ปปี้ เอ็มพีเอ็ม จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 485,958,926 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 400,381,084 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -17.61 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 17,199,793 บาท
ด้าน บริษัท ไอยรา แพลนเน็ต จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 375,066,323 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 380,262,861 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1.38 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 18,581,539 บาท, บริษัท ดี เน็ทเวิร์ค เวิลด์ไวด์ จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 389,115,728 บาท ,ในปี 2565 มีรายได้ 279,889,131 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -28.07 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไรสุทธิอยู่ที่ 16,954,466 บาท ,บริษัท เจอเนสส์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 188,471,080 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 148,698,270 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -21.10 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ -14,925,052 บาท และ บริษัท คังเซน-เคนโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 265,571,458 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 145,925,737 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -45.05 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ -28,857,355 บาท
อย่างไรก็ดี จากภาพรวมการส่งผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมขายตรงไทยในปี 2565 ยังคงมีแนวโน้นการทำธุรกิจยังคงมียอดขายทรงตัว และไม่มีผลกระทบต่อยอดขายมากนักจากโรคระบาดและผลกระทบเศรษฐกิจ คงต้องรอติดตามอย่างใกล้ชิดในการเดินหน้าอย่างเต็มกำลังของผู้ประกอบการของทุกบริษัทในปีนี้ เพราะนับเป็นปีแรกที่พูดได้ว่าคนไม่กลัวการระบาดของโควิดแล้ว และสามารถออกไปเปิดโอกาสทางธุรกิจได้อย่างเต็มกำลัง เหลือเวลาอีก 2 ไตรมาสและดูกันว่าบริษัทไหนจะเดินได้ตรงตามกลยุทธ์และเป้าหมายที่วางไว้ หรือบางบริษัทมีการปรับตัวเข้าสู่ระบบออนไลน์ตั้งแต่ก่อนโรคโควิด-19 ระบาดขึ้น ทำให้ได้รับผลกระทบไม่มากนัก โดยอันดับหนึ่งของธุรกิจขายตรงในประเทศไทย ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งประกอบไปด้วยขายตรงยักษ์ใหญ่จากประเทศสหรัฐอเมริกา อันดับ 1 ตลอดกาล บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด หลังจากที่ต้องเผชิญกับปัญหาวิกฤติโควิด-19 ด้วยความที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ มีฐานผู้บริโภคจำนวนมาก และการปรับตัวในการใช้กลยุทธ์ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึงกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมภูมิคุ้มกันที่มียอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่องรับสถานการณ์โควิด-19 จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 มีรายได้ 18,711,700,616 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 17,810,815,765 บาท มีเปอร์เซ็นต์ การเปลี่ยนแปลงลดลง -4.79 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 512,663,952 บาท โดยในปี 2566 บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงทัพผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งมีการแต่งตั้ง ทศพร นิษฐานนท์ นั่งตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด แทน กิจธวัช ฤทธีราวี ซึ่งก้าวไปรับตำแหน่งประธานที่ปรึกษา ต้องรอชมว่าฝีมือผู้บริหารคนใหม่จะพาแอมเวย์เติบโตก้าวไปถึงยอดขาย 30,000 ล้านบาท ได้หรือไม่
แชมป์อันดับ 2 มาอย่างยาวนานได้เช่นกัน แบรนด์คนไทยอันดับที่ 45 ของโลก ยังคงเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคคนไทยและทั่วโลกให้การยอมรับสำหรับ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด ภายใต้การบริหารงานของหญิงแกร่ง พญ.นลินี ไพบูลย์ ประธานกรรมการ พร้อมก้าวสู่ปีที่ 28 อย่างมั่นคง ในระยะเวลากว่า 27 ปี สามารถสร้างยอดขาย รวมแล้วกว่า 102,173 ล้านบาท โดยสร้างยอดขายได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยการตลาดที่มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม และมีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง ทำให้กิฟฟารีนไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากเศรษฐกิจและการแพร่ระบาดของโควิด-19 สามารถสร้างรายได้ที่มีความมั่นคง จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 มีรายได้ 4,751,323,066 บาท และ ในปี 2565 มีรายได้ 4,249,194,629 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อย -10.56 เปอร์เซ็นต์ โดยมี ยอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 242,080,957 บาท
มาดูที่ค่ายยักษ์ใหญ่ประเทศมาเลเซียกันบ้าง สำหรับ บริษัท ซูเลียน (ประเทศไทย) จำกัด ยังคงเดินหน้า ทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ไม่สามารถจัดงานสัมมนาได้ในหลายปี ในปีนี้ซูเลียนเดินหน้าเต็มกำลัง เป็นเวลากว่า 3 ปี ที่ไม่ได้จัดงานใด ๆ เลยในการเชิดชูเกียรตินักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ โดยเมื่อวันที่ 10-06-2566 ได้จัดงานวันเกียรติยศซูเลียน ZHULIAN DAY OFG HONOUR 2023 โดยตลอดระยะเวลา 26 ปี ที่ดำเนินธุรกิจซูเลียนในประเทศไทย มีการส่งต่อธุรกิจแบบรุ่นสู่รุ่น พร้อมส่งต่อธุรกิจไปสู่รุ่นลูก ๆ ที่เข้ามาสานต่อธุรกิจซูเลียน ให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป พร้อมยืนหยัดอดทนและฟันฝ่าทุกวิกฤติ จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 ซูเลียนประเทศไทยมีรายได้ 2,262,365,529 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 1,988,089,294 บาท มีเปอร์เซ็นต์ การเปลี่ยนแปลงลดลง -12.12 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 205,993,739 บาท
มาดูอันดับที่ 4 บริษัทขายตรงสัญชาติไทยที่สามารถ ยึดครอง TOP 5 ขายตรงไทย ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ก่อตั้ง บริษัท เลกาซี่ คอร์ป จำกัด ด้วยทัพผู้นำนักธุรกิจที่เป็นคนรุ่นใหม่เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การขยายธุรกิจค่อนข้างมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในแวดวงธุรกิจมาอย่างยาวนาน ทำให้ธุรกิจสามารถติดลมบนมาอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 เลกาซี่มีรายได้ 1,969,678,693 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 1,395,469,706 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -29.15 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 6,989,806 บาท
ขณะที่อันดับ 5 ยังคงเป็นอีกหนึ่งบริษัทขายตรงสัญชาติไทยที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน สามารถรั้งอันดับ TOP 5 ขายตรงไทย และยังสามารถนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทมหาชนได้อีกด้วย นับเป็นรายแรกของธุรกิจขายตรงไทย บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การบริหารงานของ นายแพทย์สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ ประธานกรรมการบริหาร และ CEO นพกฤษฏิ์ นิธิเลิศวิจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ในปี 2554 มีรายได้ 1,269,886,455 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 1,182,406,038 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -6.88 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 183,964,082 บาท
นอกจากนี้ธุรกิจขายตรงไทยตั้งแต่อันดับ 6 เป็นต้นไปจะมีใครบ้างไปดูกัน บริษัท เฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 334,888,905 บาท และในปี 2565 มีรายได้เพิ่มขึ้น 985,285,916 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 195.50 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 40,157,863 บาท, บริษัท จอย แอนด์ คอยน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 1,067,694,468 บาท และในปี 2565 มีรายได้ลดลง 791,944,318 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -25.82 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 8,878,366 บาท, บริษัท ยูนิซิตี้ มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 787,971,322 บาท และในปี 2565 มีรายได้ลดลงเล็กน้อย 723,967,666 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยน- แปลงลดลง -8.12 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 2,236,780 บาท, บริษัท นู สกิน เอ็นเตอร์ไพร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ปี 2554 มีรายได้ 661,925,507 บาท และในปี 2565 มีรายได้
679,703,530 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 2.95 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 10,507,456 บาท, บริษัท แฮ็ปปี้ เอ็มพีเอ็ม จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 485,958,926 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 400,381,084 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -17.61 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 17,199,793 บาท
ด้าน บริษัท ไอยรา แพลนเน็ต จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 375,066,323 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 380,262,861 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1.38 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ 18,581,539 บาท, บริษัท ดี เน็ทเวิร์ค เวิลด์ไวด์ จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 389,115,728 บาท, ในปี 2565 มีรายได้ 279,889,131 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -28.07 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไรสุทธิอยู่ที่ 16,954,466 บาท, บริษัท เจอเนสส์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 188,471,080 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 148,698,270 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -21.10 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ -14,925,052 บาท และ บริษัท คังเซน-เคนโก อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในปี 2554 มีรายได้ 265,571,458 บาท และในปี 2565 มีรายได้ 145,925,737 บาท มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงลดลง -45.05 เปอร์เซ็นต์ โดยมียอดขายกำไร (ขาดทุน) สุทธิอยู่ที่ -28,857,355 บาท
อย่างไรก็ดี จากภาพรวมการส่งผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมขายตรงไทยในปี 2565 ยังคงมีแนวโน้มการทำธุรกิจยังคงมียอดขายทรงตัว และไม่มีผลกระทบต่อยอดขายมากนักจากโรคระบาดและผลกระทบเศรษฐกิจ คงต้องรอติดตามอย่างใกล้ชิดในการเดินหน้าอย่างเต็มกำลังของผู้ประกอบการของทุกบริษัทในปีนี้ เพราะนับเป็นปีแรกที่พูดได้ว่าคนไม่กลัวการระบาดของโควิด-19 แล้ว และสามารถออกไปเปิดโอกาสทางธุรกิจได้อย่างเต็มกำลัง เหลือเวลาอีก 2 ไตรมาส และดูกันว่าบริษัทไหนจะเดินได้ตรงตามกลยุทธ์และเป้าหมายที่วางไว้