“คิดใหม่ให้เมือง” ตามแนวคิดของ OPENBOX ต้องตอบโจทย์ทั้งสังคมและเศรษฐกิจ แนะเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรองรับนักท่องเที่ยว

การวางผังเมืองและการออกแบบ มีบทบาทและความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนา เสริมสร้างศักยภาพเมืองไปสู่ความยั่งยืน กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง จัดสัมมนาวิชาการ เนื่องในวันผังเมืองโลก WELLNESS CITY TRANSFORMATION “คิดใหม่ ให้เมือง” มุ่งหาแนวทางใหม่ ทั้งด้านนโยบายและด้านกายภาพในการวางผังเมืองและออกแบบเมืองให้มีความยืดหยุ่นในทุกด้าน มีเป้าหมายหลักเพื่อให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในรูปแบบใหม่ ตลอดจนตอบโจทย์ในเรื่องเศรษฐกิจ
OPENBOX ชูแนวคิด S-E-N-S-E รวม 5 โซลูชั่น พัฒนาเมืองแห่งอนาคต

รติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สถาปนิกโอเพนบอกซ์ จำกัด และ กลุ่มบริษัทในเครือ (OPENBOX Architects Company Limited and OPENBOX GROUP) บริษัทสถาปนิกชั้นนำของประเทศ ร่วมแบ่งปันประสบการณ์และความคิดเห็นในหัวข้อ “City of The Future เมืองแห่งอนาคต” ระบุว่า เมืองแห่งอนาคตคือ เมืองที่มีความคิดสร้างสรรค์การออกแบบในด้านต่าง ๆ รวมเข้ามาประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น การจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Space efficiency), การจัดการพลังงานที่ดีและใช้พลังงานร่วมกันอย่างประสิทธิภาพ (Energy sharing), การให้ความสำคัญกับธรรมชาติและพื้นที่สีเขียว (Nature & Green), การออกแบบอาคาร สถานที่ หรือเมืองให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย (Synchronization), และการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัย (Exploration of living innovation) ดังนั้น การออกแบบพัฒนาเมืองของ OPENBOX GROUP จึงอยู่ภายใต้แนวคิด S-E-N-S-E ที่รวม 5 โซลูชั่น สำหรับ City of the Future โดยมีคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คน ทั้งด้านสุขภาพและจิตใจ

รติวัฒน์ ยกตัวอย่างว่า แนวคิดการขายสมัยใหม่สนใจการมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น ซึ่งกฎของการเปิดพื้นที่สีเขียวให้กับอาคารสูงเป็นสิ่งที่ดีมาก ช่วยจัดการพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปัจจุบันสังคมให้ความสนใจพลังงานสะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ อาคารบางแห่งมีความคิดสร้างสรรค์ในการติดตั้ง solar panel หรือ มีการใช้เทคโนโลยี Energy blockchain มาช่วยทำให้เกิดการแชร์พลังงานกันในแต่ละตึกที่อยู่บริเวณเดียวกัน แต่ไม่ได้ใช้พลังงานช่วงเวลาเดียวกัน เรียกว่า Energy sharing เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่ตลาดให้ความสนใจและถือเป็นจุดขายในขณะนี้ เพราะดีต่อโลกและดีต่อเมือง นั่นคือ 3 ศูนย์ (Zero) ได้แก่ 1. Zero Waste ใช้วัสดุที่ไม่มีเศษเหลือเลย ตั้งแต่ไลน์ผลิตวัตถุดิบเข้าจนออกมาจากโรงงาน 2. Zero Energy เป็น Solar Cell 100% อย่างน้อยที่สุดคือในเวลากลางวันไม่จำเป็นที่ต้องใช้แหล่งไฟฟ้าจากภายนอก และ 3. Zero Emission ไม่มีการปล่อยของเสียออกมา โดยการใช้แอร์ การใช้พลังงานทุกอย่าง จะต้องหักลบกับพื้นที่สีเขียวที่มันสามารถที่จะหักล้างค่าคาร์บอนไดออกไซด์ได้พอดี
เชื่อมประสานความหลากหลายสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

“ที่สำคัญเมืองแห่งอนาคต ต้องตอบโจทย์ได้ครบถ้วนทั้งด้านสังคม และเศรษฐกิจ เพื่อให้เป็นเมืองที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยขณะนี้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รายได้จากการท่องเที่ยวอันเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจหายไป ดังนั้น ช่วงปิดประเทศควรเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลเข้ามา ซึ่งไทยคือจุดหมายปลายทางของนักเดินทาง และผู้คนที่ต้องการเปลี่ยนที่อยู่อาศัยจากทั่วโลกอย่างแน่นอน ดังนั้น การพัฒนาเมือง หรือ โครงสร้างพื้นฐาน จึงเป็นสิ่งสำคัญ เช่น การมีท่าเรือจอดสำหรับเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่จะช่วยเพิ่มพื้นที่การท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ยั่งยืนต้องมี Synergy นั่นคือ การเชื่อมโยงประสานกัน ทำให้เกิดประโยชน์ ไม่ใช่แค่ 1 บวก 1 เท่ากับ 2 แต่เป็น 1 บวก 1 เท่ากับ 100 โดยนำสิ่งที่มีความหลากหลายเข้ามาทำงานร่วมกัน ซึ่งก็มีหลายสิ่งที่ทำเตรียมไว้แล้ว แต่จะต้องทำให้ทุกอย่างกลายเป็น network”ทั้งนี้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการท่องเที่ยว (Development of tourism infrastructure) จะทำให้เกิดกลยุทธ์ Strategic District ซึ่งนอกจากจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่นั้นแล้ว ยังสามารถจุดประกายให้พื้นที่รอบ ๆ เตรียมตัวในการพัฒนาด้วย เพราะเมื่อนักท่องเที่ยวเดินทางไปจังหวัดหนึ่ง เช่น ภูเก็ต ส่วนใหญ่ไม่ได้วางจุดหมายท่องเที่ยวแค่ในจังหวัดเดียว แต่ยังมองหาแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียง แต่บางครั้งก็ไปไม่ได้ เพราะไม่มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ทำให้เสียโอกาส ดังนั้น หากมีการส่งเสริมและลงมือพัฒนาได้เร็ว จะเป็นโอกาสในการนำรายได้เข้าประเทศหลังสถานการณ์โควิด-19 จึงควรใช้เวลาในช่วงของการรอคอยนี้สร้างโอกาสและเตรียมความพร้อม

“การสร้างผลลัพธ์ใหม่ ต้องใช้วิธีการและกลยุทธ์ใหม่ๆ นั่นคือ จะต้องมี New Paradigm หรือ กรอบความคิดใหม่ Paradigm มีความหมายเปรียบเทียบได้ง่าย ๆ เท่ากับแผนที่ เป็นสิ่งที่จะบอกเราได้ว่ากำลังจะเดินไปทางไหน ชัดและง่ายเปรียบคือเป็นเป้าหมาย เป็นแผนพัฒนา แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้น ก่อนที่จะรู้ว่าเราจะไปไหน ต้องรู้ว่าปัจจุบันเรายืนอยู่ตรงจุดไหนก่อน ซึ่งปัจจุบันโรงแรมชื่อดังในไทยสามารถทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ แต่น่าเสียดายที่มีเจ้าของเป็นนักลงทุนต่างชาติ เข้ามาเก็บเกี่ยวผลประโยชน์กลับไป ถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องเดินเกมรุก จึงอยากเสนอให้ผู้ที่มีความรู้และคนที่มีความพร้อมมาร่วมมือกันทำให้เกิดขึ้นจริง โดยยึดหลักคิดผลประโยชน์ร่วมกัน หรือ Think win win”

Loading