ส่องเทรนด์อุตสาหกรรม2022 ผ่าศก. ‘ไทย-โลก’ รู้แล้วรอด!!

“กระทรวงอุตสาหกรรม” เผย “4 เทรนด์ไทย-9 เทรนด์โลก” ที่ทุกคนต้องรู้ !! ภายในพิธีมอบรางวัล “THAILAND’s SMART AWARDS” ครั้งที่ 3 ความร่วมมือครั้งสำคัญกับ “ณ. ดี เน็ทเวอร์ค พับลิชชิ่ง” ที่มุ่งมั่นส่งเสริม สนับสนุน และเป็นขวัญกำลังใจให้ทุกภาคอุตสาหกรรมปรับตัวได้ในทุกวิกฤติ ทางด้าน “ภาคธุรกิจขายตรง” สุดเจ๋ง! บริษัทชั้นนำจับมือกันกวาด 10 รางวัลยอดเยี่ยมแห่งปีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมมือกับ บริษัท ณ. ดี เน็ทเวอร์ค พับลิชชิ่ง จำกัด ผู้ผลิตสื่อคุณภาพ ครอบคลุมทุกธุรกิจ อาทิ หนังสือพิมพ์ The Power Network, นิตยสาร Business Owner, หนังสือพิมพ์ Transport Journal, หนังสือพิมพ์ Auto Preview, CIO World News.com ฯลฯ จัดพิธีมอบรางวัลประจำปี “THAILAND’s SMART AWARDS 2022” ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมแบงค็อก แมริออท สุขุมวิท ภายในงานดังกล่าว ดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมเป็นประธานในพิธี พร้อมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “ส่อง ! เทรนด์อุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ 2022” โดยกล่าวว่า “เทรนด์” ที่จะมาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะถูกแบ่งออกเป็น 4 เทรนด์ ได้แก่

  1. 1. Digital Transformation เทรนด์ที่ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนไปสู่โลกดิจิทัลเต็มตัว ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่จำเป็นมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพในการผลิต
  2. 2. Sustainable Development เทรนด์ที่ธุรกิจทั่วโลกมุ่งเน้นที่จะดำเนินธุรกิจบนการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 0% ลดภาวะเรือนกระจก ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกันเพื่อการพัฒนา โดยมี 2 เรื่องหลักที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล คือ

เรื่องแรกคือ BCG (Bio Circular Economy Green) ที่ภาครัฐ ผลักดันออกมา 3 ปีที่แล้ว เป็นการเพิ่มมูลค่าธุรกิจด้วยการนำแนวคิดนี้เข้าไปเสริมธุรกิจ ซึ่งภาคธุรกิจอุตสาหกรรมใดที่มีการวางแผนบริหารจัดการ หรือมีธุรกิจที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ Bio, Circular และ Green จะเป็นเทรนด์ที่ทำให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน และเรื่องที่สองเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของอาเซียน ก่อนเกิดโควิด-19 มีการผลิตรถยนต์ถึงปีละ 2 ล้านคัน โดย 1 ล้านคัน ไว้เพื่อส่งออก และอีก 1 ล้านคัน สำหรับใช้ในประเทศ หน้าที่ของภาครัฐ คือ จะทำอย่างไรให้ดีมานด์และซัพพลายสอดคล้องกัน โดยเชื่อว่าภายใน 3 ปี จะมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้า 2 แสนคัน มอเตอร์ไซค์อยู่ที่ประมาณ 3.6 แสนคัน รถบัสรถบรรทุก 1.8 แสนคันทั่วประเทศ ดังนั้น รัฐและเอกชนต้องเร่งพัฒนาปรับเปลี่ยนผู้ประกอบการให้ผลิตในส่วนนี้และใช้ในประเทศก่อนภายใน 3 ปี และไทยจะส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ ภายในปี 2573 ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโลกที่ไม่ใช่แค่รถยนต์ แต่ทุกอย่างต้องเปลี่ยนไป เพราะจะมีธุรกิจที่เข้ามาเกี่ยวข้อง อีกมากในอุตสาหกรรมนี้ เช่น ธุรกิจการบริการ และแบตเตอรี่ เป็นต้น

  1. 3. Health Awareness ประชาชนจะตระหนักรู้ ในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น และขณะนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ Ageing Society “สังคมผู้สูงอายุ” อย่างสมบูรณ์แบบ เห็นได้จากเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ไทยมีอัตราการเกิดปีละ 1 ล้านคน แต่ปีที่ผ่านมามีอัตราการเกิดเพียง 5 แสนคน เพราะฉะนั้น สังคมผู้สูงอายุจะมาเร็วกว่าที่ทุกคนคาดการณ์เอาไว้ เดิมผู้สูงอายุก็มีความตระหนักเรื่องของสุขภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยิ่งมีปัจจัยจากภายนอกเรื่องของโรคภัยมากระตุ้น ก็ยิ่งทำให้คนคิดถึงสุขภาพมากขึ้น อาทิ อาหารเพื่อสุขภาพ นวัตกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ธุรกิจให้คำปรึกษาออนไลน์ การออนไลน์ร่วมกัน สังคมไร้เงินสด ยาและอุปกรณ์ทางแพทย์ เป็นต้น
  2. 4. Resilience คือ ความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ ปัจจุบันธุรกิจจะต้องเปลี่ยนเป็น Pull System ที่มีผู้บริโภคเป็นตัวเริ่ม เพราะความต้องการของผู้บริโภคในยุคนี้ มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร จะทำให้ลอตการผลิตเล็กลงแต่สินค้าที่ได้จะตอบสนองผู้บริโภคมากขึ้น ต่อจากนี้ปลาใหญ่กินปลาเล็กจะไม่มี แต่จะมีปลาที่เร็วกว่าจะกินปลาที่ช้ากว่า ปลาที่มีการปรับตัวได้จะสามารถอยู่รอดได้

เชื่อมั่นว่าประเทศไทยยังเป็นฐานการผลิตที่มีศักยภาพสูง เชื่อมั่นทางด้านความพร้อม โครงสร้างพื้นฐาน การสนับสนุนของรัฐบาล และที่สำคัญคือมั่นใจในศักยภาพของภาคเอกชนในทุกระดับ ซึ่งภาครัฐพร้อมสนับสนุนส่งเสริม เต็มที่ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมของไทยเจริญเติบโตไปอย่างยั่งยืนดร.กฤชนนท์ อัยยปัญญา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในที่สุด

นอกจากนี้ ภาสกร ชัยรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ขึ้นบรรยายพิเศษ ในหัวข้อที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน คือ “พัฒนาอุตสาหกรรมไทย ให้เติบโตในสังคมโลกยุคใหม่อย่างมั่นคง” โดยกล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น จากข้อมูลที่น่าสนใจของ World Bank ระบุว่า ในปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยมีอัตราการเติบโต 1.6 % และในปี 2565 นี้ เศรฐกิจไทยมีการฟื้นตัวใกล้เคียงกับภาพรวมของเศรษฐกิจโลกและกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเติบโตอยู่ที่ 4.2% และ 3.9% ในปี 2567 จากการเปิดประเทศ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวในทิศทางเดียวกัน การส่งออกมีทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงจนถึงสิ้นปี 2565 และคาดว่าจะลดลงในปี 2566 ส่วนทางภาคธุรกิจควรเตรียมความพร้อมในการวางแผนหรือขยายธุรกิจหลังจากเศรษฐกิจฟื้นตัวได้อีกครั้ง

โดย “เทรนด์แห่งโลกอนาคต” ที่กำลังจะมาถึงหรือ “Global Trends 2030” กำลังมุ่งหน้าไปสู่ 9 Mega Trends ซึ่งผู้ประกอบการทุกคนต้องรู้และก้าวให้ทัน มีดังต่อไปนี้

  1. 1. Demographics โครงสร้างประชากรโลกที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยมีคนอายุมากกว่า 65 ปี กว่า 1 พันล้านคน จาก 7 พันล้านคนทั่วโลกในปัจจุบัน ส่วนในอีก 10 ปีข้างหน้า คาดว่าประชากรโลกจะเพิ่มเป็น 9 พันล้านคน
  2. 2. Global Policy หรือการแบ่งขั้วโลก “กลุ่ม G7” (กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 แห่ง ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี แคนาดา และญี่ปุ่น ร่วมด้วยสหภาพยุโรป (อียู)) และ “กลุ่ม BRICS” (กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอันประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้)
  3. 3. Urbanization คนจะย้ายเข้ามาอยู่ในสังคมเมืองมากขึ้น เพราะการขยายตัวของเมือง
  4. 4. Transparency เทคโนโลยีด้านความโปร่งใสของข้อมูลทั่วโลก
  5. 5. Climate Crisis ปัญหาภัยธรรมชาติ น้ำท่วม ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ที่เพาะปลูกโลกจะลดลง 5-10%
    ในระยะเวลาอันใกล้
  6. 6. Resource Pressures การขาดแคลนทรัพยากร เช่น อาหาร ในอีก 10 ปีข้างหน้าคาดว่าจะเกิดขึ้นความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น 150%
  7. 7. Clean Tech เทคโนโลยีที่สะอาด ไม่มีมลพิษ เพื่อความยั่งยืน
  8. 8. Populism ความเป็นชาตินิยมที่มากขึ้น
  9. 9. Technology Shifts ปัจจุบันที่เปลี่ยนจากยุคอนาล็อกมาเป็นดิจิทัล จะค่อย ๆ เปลี่ยนจนเป็น
    Exponential

รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่าความท้าทายทุกอย่างที่เกิดขึ้น เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วบนโลกใบนี้ ในยุค Digital Transformation มีทั้งประโยชน์และโทษ เพราะฉะนั้นเราต้องหันมาให้ความสำคัญ และจริงจังกับการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้ Digital ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

สำหรับในช่วงพิธีสำคัญในลำดับถัดมา คือ การมอบรางวัล “THAILAND’s SMART AWARDS 2022”
ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 มีหลากหลายองค์กรชั้นนำ ทั้งในกลุ่มธุรกิจประกันภัย ประกันชีวิต ยานยนต์ การบิน โลจิสติกส์ ขายตรง ฯลฯ ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมรับรางวัล โดยแบ่งรางวัลแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ประเภทองค์กร ประเภทผลิตภัณฑ์ และประเภทบุคคล บนเกณฑ์การพิจารณาตามหลักธรรมาภิบาล ธุรกิจ 6 หลัก คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า มีองค์กรชั้นนำและผู้ประกอบการจากทุกภาคธุรกิจเข้าร่วมรับรางวัล รวมทั้งหมด 30 รางวัล ได้แก่

Smart CSR Company Award รางวัลองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมยอดเยี่ยม ได้แก่ กลุ่มศรีเทพไทย, บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

Smart Innovative Company Awards รางวัลองค์กรแห่งนวัตกรรมยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เคเอเอ็น อินโนเวชั่น จำกัด

Smart Management Company Awards รางวัลองค์กรด้านการจัดการยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

Smart Performance Company Awards รางวัลองค์กรที่มีผลงานและประสิทธิภาพยอดเยี่ยม เอไอเอ ประเทศไทย, บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน)

Smart Greenovative Products รางวัลผลิตภัณฑ์แห่งนวัตกรรมรักษ์โลกยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

Smart Innovative Products รางวัลผลิตภัณฑ์แห่งนวัตกรรมยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัท ฮอนด้า ออโต โมบิล (ประเทศไทย) จำกัด และ Fuchs น้ำมันหล่อลื่น food grade Cassida บริษัท ฟุคส์ ลูบริแคนท์ส (ประเทศไทย) จำกัด

Product of the year 2022 รางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์แห่งปี 2022 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ “ฟิล์ม Lamina Digital EV Boost” บริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) จำกัด และ “ประกันชีวิตควบการลงทุน” (ยูนิต ลิงค์) เอไอเอ ประเทศไทย, ประกันภัย “TIP RAINBOW” บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)

Most Admired Products รางวัลสุดยอดผลิตภัณฑ์ขวัญใจมหาชน ได้แก่ “รถยนต์ มาสด้า2” บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด, “ประกันสุขภาพ Elite Health” บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด และประกันภัยรถยนต์ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน)

ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจขายตรงถือเป็นอีกหนึ่งในธุรกิจที่สามารถคว้ารางวัลมาครอบครองได้ถึง
10 รางวัลด้วยกัน ดังต่อไปนี้

Smart Young Executive 2022 รางวัลสุดยอดผู้บริหารรุ่นใหม่แห่งปี 2022 ผู้ที่ได้รับรางวัล ได้แก่
ณพวัฒน์ สัตย์เพริศพราย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท แฮ็ปปี้ เอ็มพีเอ็ม จำกัด หนึ่งใน “CEO คู่แฝดพันล้าน” ของวงการธุรกิจเครือข่ายที่มีอายุเพียง 26 ปี เข้ามารับผิดชอบการบริหารองค์กรต่อจากรุ่นพ่อแค่ 2 ปีแรก ก็สามารถต่อยอดธุรกิจด้วยการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Customer Centric และขับเคลื่อนการตลาดด้วย Data-Driven Marketing สร้างยอดขายให้เติบโตแบบก้าวกระโดด มากถึง 394% มียอด Active ของนักธุรกิจได้มากกว่า 50,000 รหัส และมีฐานผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง หลายแสนรายในปัจจุบัน

Smart CSR Company Awards รางวัลองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัท เอม สตาร์ เน็ทเวิร์ค จำกัด ซึ่งให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและส่วนรวมมาโดยตลอด โดยได้มีการจัดตั้งมูลนิธิเอมสตาร์ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทางด้านการศึกษาแก่เยาวชน เพื่อให้ความช่วยเหลือ ทางด้านสาธารณสุขพื้นฐาน เพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมมือกับองค์การหรือสถาบันอื่นที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกันเพื่อสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างเสริมสังคมให้น่าอยู่ และส่งมอบสังคมที่งดงามและอบอุ่นให้กับคนรุ่นต่อไป

Smart Digital Company Awards รางวัลองค์กรแห่งเทคโนโลยีดิจิทัลยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัท
เจอเนสส์ โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ธุรกิจเครือข่ายยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันที่ขยายไปสู่ 160 ประเทศทั่วโลก ภายใต้ค่านิยม One Team One Family One Jeunesse ผู้นำเทคโนโลยีเพื่อการชะลอวัยที่ทำการตลาดบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น สร้างยอดขายสะสมทั่วโลกภายในปีที่ 11 ของการทำธุรกิจได้มากถึง 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์เครื่องมือส่งเสริมการตลาดใน “แพลตฟอร์มดิจิทัล”
ที่กวาดรางวัลมามากมาย และมั่นใจได้ในระบบความปลอดภัย ของข้อมูล ความโปร่งใส และประสิทธิภาพการใช้งานทั่วโลก

Smart Performance Company Awards รางวัล องค์กรที่มีผลงานและประสิทธิภาพยอดเยี่ยมได้แก่ บริษัท กิฟฟารีน สกายไลน์ ยูนิตี้ จำกัด บริษัทขายตรงแบรนด์ไทยอันดับ 1 ที่แข็งแกร่งในทุกมิติ ก่อกำเนิดจากความมุ่งมั่นของคณะแพทย์และเภสัชกร ที่ร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไทย สามารถสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ให้เติบโต และประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนจากการนำเสนอสินค้าอุปโภค-บริโภคกว่า 2,000 รายการ และมีผลประกอบการรวม 26 ปี ถึงปัจจุบัน 100,000 ล้านบาท สามารถสร้างรายได้ให้กับนักธุรกิจกิฟฟารีนกว่า 43,000 ล้านบาท และคืนกำไรให้สังคมกว่า 300 ล้านบาท ล่าสุดยังเป็นแบรนด์ไทยเพียงหนึ่งเดียวที่ติดอันดับที่ 47 จาก Top 100 บริษัทขายตรงชั้นนำของโลก ที่มีผลประกอบการสูงที่สุดประจำปี 2022 (อ้างอิงจากผลประกอบการปี 2021) จากนิตยสาร Direct Selling News ในสหรัฐอเมริกา

Loading