กลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ จัดประชุมพนักงาน “ครั้งที่ 1” ประจำปี 2564 (Town hall Meeting) โดยนายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ นำทีมคณะผู้บริหารระดับสูง อาทิ นางสาวสุภัทรา ปิวรบุตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคลและสนับสนุนองค์กร (CHCO) นางสาวช่อฟ้า ยุกตะนันท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดและบริหารลูกค้า (CMCO) และมร.มาร์โค เอนนีโล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ร่วมแถลงผลประกอบการของเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์และเจนเนอราลี่ กรุ๊ป ในปีที่ผ่านมา โดยมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งท่ามกลางภาวะวิกฤต และยังถือเป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทของในโลกที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 190 ปี มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารสินทรัพย์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ด้วยเหตุนี้เองกลุ่มบริษัทเจนเนอราลี่จึงสามารถรับมือกับความท้าทายในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยผลประกอบการทั้งปี 2020 ของกลุ่มบริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงานสูงราว 185 พันล้านบาท (5.2 พันล้านยูโร) จากปัจจัยในเชิงบวกและการเติบโตของธุรกิจด้านประกันภัยทรัพย์สินและเบ็ดเตล็ด (P&C) และธุรกิจบริหารสินทรัพย์ รวมถึงธุรกิจโฮลดิ้งและธุรกิจอื่นๆ มีอัตราส่วนรวมค่าสินไหมทดแทนและค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (Combined Ratio) อยู่ที่ 89.1% (-3.5 p.p.) อัตรากำไรจากธุรกิจใหม่ (New Business Margin) อยู่ที่ 3.94% และผลกำไรสุทธิหลังปรับปรุง[1] (Adjusted Net Profit) คิดเป็นเงินจำนวนประมาณ 74.1 พันล้านบาท (2,076 ล้านยูโร) (-12.7%) ไม่นับรวมค่าใช้จ่ายจำนวน 3,569 พันล้านบาท[2] (จำนวน 100 ล้านยูโร) จากกองทุนวิสามัญระหว่างประเทศสำหรับ Covid-19 (Extraordinary International Fund for Covid-19) และค่าใช้จ่ายจากธุรกรรมการบริหารหนี้สิน โดยมีอัตราความพอเพียงของเงินกองทุนที่แข็งแกร่งถึง 224% จากการสร้างเม็ดเงินทุนที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 142 พันล้านบาท (4 พันล้านยูโร) ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ ยังคงมีฐานะเงินทุนที่ยอดเยี่ยมทั้งจากมุมมองทางเทคนิคและในแง่ของฐานะเงินทุน แม้ในสถานการณ์ที่ยังคงมีความไม่แน่นอนสูงเนื่องจากการระบาดของโควิด-19
สำหรับผลประกอบการของเจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ในภาพรวมนั้นถือว่าสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยในธุรกิจประกันชีวิตนั้น มีเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ เติบโตถึงร้อยละ 18 ขณะที่ช่องทางการขายผ่านธนาคาร (Bancassurance) มีผลการดำเนินงานในปี 2563 ที่ดีกว่าตลาดอย่างมาก โดยเติบโตถึงร้อยละ 28 จากการขายผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นอย่างแบบประกันชีวิตควบการลงทุนอย่างยูนิตลิงค์ และประกันชีวิตเพื่อสินเชื่อกับพันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่างธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) และจาก บริษัท ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 2014 จำกัด หนึ่งในกลุ่มบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สำหรับช่องทางประกันกลุ่มยังคงเป็นที่ยอมรับว่าเป็นธุรกิจประกันกลุ่มชั้นนำของประเทศ ด้วยการบริการที่ดี รวมถึงมีการบริหารต้นทุนและผลกำไรอย่างยอดเยี่ยม ส่วนช่องทางไดเร็ก มาร์เก็ตติ้ง และช่องทางการขายผ่านตัวแทนนั้นได้มีการปรับผลิตภัณฑ์เพื่อลดผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยจากการลดลงอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนภาพรวมธุรกิจประกันวินาศภัยในปี 2563 นั้น เติบโตขึ้นร้อยละ 2 โดยส่วนของประกันอุบัติเหตุ (PA) เติบโตถึงร้อยละ 76 ส่วนช่องทางธนาคาร สามารถทำผลงานได้ถึงร้อยละ 117 ของเป้าหมาย จากผลประกอบการร่วมกับพันธมิตรอย่างศรีสวัสดิ์ ด้านการขายผ่านช่องทางไดเร็ก มาร์เก็ตติ้ง เติบโตจากปีก่อนถึงร้อยละ 19 จากการเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางเทเลมาร์เก็ตติ้ง และการเพิ่มพันธมิตรใหม่ๆ ส่วนสายงานธุรกิจพาณิชยกรรม (GC&C) เติบโตกว่าเป้าหมาย คิดเป็นร้อยละ 155% จากธุรกิจการประกันภัยทรัพย์สิน และประกันภัยงานวิศวกรรม
โดยการประชุมครั้งนี้เจนเนอราลี่ ได้ประกาศเป้าหมายรวมในปี 2021 ไว้กว่า 2,700 ล้านบาท โดยมีกลยุทธ์สำคัญเพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็น Lifetime Partner หรือเพื่อนผู้เคียงข้าง ในทุกช่วงเวลาของชีวิต มุ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขันด้านธุรกิจประกันชีวิต ประกันสุขภาพ รวมถึงประกันวินาศภัย สร้างแรงผลักดันและความน่าเชื่อถือ รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพให้กับพนักงานเพื่อนำไปสู่การให้บริการที่เป็นเลิศ ผ่านนวัตกรรมที่ทันสมัยแก่ลูกค้า เพื่อเป้าหมายในการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับองค์กร
พร้อมกันนี้ภายในงานยังได้มอบรางวัล Lifetime Partner Awards ให้แก่ผู้บริหารและพนักงานโดยมีพนักงานเข้าร่วมรับฟังนโยบาย ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมโอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ
[1] กำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้วไม่รวมผลกระทบของกำไร-ขาดทุนที่เกี่ยวข้องกับการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์ (เท่ากับ – 6.5 พันล้านบาท (-183 ล้านยูโร) ปลายปีปฏิทิน 2563 จากค่าใช้จ่ายที่เกิดจากข้อตกลงการขาย BSI; ปลายปีปฏิทิน 2562 อยู่ที่ 16.9 พันล้านบาท (475 ล้านยูโร) และมีมูลค่ารวม 68.7 พันล้านบาทหรือ 1,926 ล้านยูโร (-12.1 %). กำไรต่อหุ้น (EPS) สุทธิที่ปรับปรุงแล้วคือ 1.32
[2] จำนวนนี้หลังหักภาษีคือ 2.7 พันล้านบาท ( 77 ล้านยูโร) อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยปี 2563 = 35.698 บาท