มาถึงยุคแห่งการรักษาสุขภาพเพราะโรคระบาดหรือจากมลภาวะที่ทั่วโลกหันมาใส่ใจดูแลตัวเองและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แน่นอนว่าพลังการผลิตต้องมุ่งไปที่ตัวผู้บริโภคเป็นหลัก
ซึ่งในปี 2021 นี้ ประเภทสินค้าที่มีแนวโน้มเติบโตดี ยังเป็นกลุ่มอาหารที่เรียกว่า “Super Food” ซึ่งเป็นสินค้าอาหารเน้นคุณค่าโภชนาการสูง มีความสำคัญต่อร่างกาย เต็มไปด้วยวิตามินต่างๆ อาทิ กลุ่มฟังก์ชันนอลฟู้ด โปรไบโอติกส์ ยังสามารถขายตัวเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การผลิตอาหารกลุ่มนี้ได้รับการพัฒนาแปรรูปให้สามารถรับประทานได้ง่ายขึ้น เก็บได้ระยะยาวและคงคุณค่าสารอาหารเอาไว้ได้
ดังนั้นประเทศไทย ซึ่งมีความตั้งใจจะเป็น “ครัวของโลก” จำเป็นต้องเร่งปรับตัว หันมาพัฒนานวัตกรรมอาหารอนาคต เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคยุคใหม่ ซึ่งไม่เพียงจะต้องมีความหลากหลาย แต่ต้องมีมาตรฐานความปลอดภัย และสามารถตรวจสอบได้ หากดำเนินการสำเร็จไม่เพียงจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรมอาหารของไทย แต่ยังช่วยเพิ่มรายได้จากการส่งออกอาหาร Super Food ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 6-7% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด หรือราว 29,000-30,000 ล้านบาท ให้เพิ่มขึ้นไปอีกได้ ซึ่งอาหารในกลุ่มนี้ก็จะเป็น
♻️ อาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic Foods) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากผลิตผลทางการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมี
♻️ อาหารและเครื่องดื่มสุขภาพ (Functional Foods and Drink) ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่จำเป็นกับร่างกาย ซึ่งอยู่ในทั้งเครื่องดื่มซอฟต์ดริงก์และเครื่องดื่มเข้มข้น หรือกระทั่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
♻️ อาหารทางการแพทย์ (Medical Foods) เป็นอาหารที่ออกแบบมาเพื่อใช้บำบัดผู้ป่วยเฉพาะโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคไต
♻️ อาหารแห่งนวัตกรรม (Novel Foods) อาหารที่เป็นนวัตกรรมขั้นสูงเช่นการใช้นาโนเทคโนโลยีรวมทั้งแหล่งอาหารใหม่เช่นแมลงสาหร่ายและยีสต์
และเทรนด์การขายที่ผู้ค้าส่วนใหญ่จะรู้กันดี คือ ด้านออนไลน์ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าการช้อปปิ้งผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์จะมีสัดส่วน 40-50% ของยอดขายธุรกิจค้าปลีกในอนาคต ซึ่งธุรกิจค้าปลีกนั้นจะผสานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI เทคโนโลยีการช้อปปิ้งขั้นสูง การใช้ซอฟต์แวร์จดจำภาพลูกค้าเพียงแค่หยิบของที่ต้องการแล้วไปโดยไม่ต้องรอต่อแถวเพื่อเช็กเอาต์จะเริ่มเกิดขึ้นกับค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากอุปกรณ์ หรือซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เริ่มมีราคาถูกลงและมีฟีเจอร์การใช้งานครอบคลุม
อีกสิ่งสำคัญในการตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคจะสนใจในการรับรู้คุณค่าของผลิตภัณฑ์เทียบกับมูลค่าที่แท้จริง ซึ่งผู้บริโภคกำลังซื้อน้อยลงและมุ่งเป้าไปที่คุณภาพที่ดีขึ้นเมื่อซื้อสินค้า และผู้บริโภครายอื่นมีความอ่อนไหวต่อราคามากเต็มใจที่จะลองใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อประหยัดเงินขณะเดียวกันการเลือกซื้อสินค้าจะคำนึงถึงความปลอดภัยและผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขอนามัย ผู้บริโภคมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปด้วยการซื้อจากที่ใดก็ตามที่สามารถเข้าถึงได้เร็วที่สุด ทำให้ธุรกิจทั้งใหญ่และเล็กประเมินห่วงโซ่อุปทานและรูปแบบธุรกิจของตนใหม่ รวมทั้งเริ่มหันมาซื้อสินค้าผ่านทางโซเชียลคอมเมิร์ซ หรือการไลฟ์ สตรีมมิ่งมากขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งยุโรปและอเมริกาซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศจีน ที่ใช้กลยุทธ์การขายสินค้าดังกล่าวในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 และได้รับการตอบรับที่ดีในกลุ่ม GenZ
ที่มา : Brandinside